ความภาคภูมิใจ การทำไม้
มติชน นิตยสารเส้นทางเศรษฐี ปีที่ 22 ฉบับที่ 411 ปักษ์หลังธันวาคม 2559
" แพร่ " ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งไม้สักมีผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่ทำอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สักหลายพันราย และเมื่อปี 2556 ทางจังหวัดได้มียุทธศาสตร์การพัฒนาให้เป็น "เมืองแห่งเฟอร์นิเจอร์" (Furniture City) ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ทำให้หลายฝ่ายเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้อุตสาหกรรมไม้ของที่นี่พัฒนาอย่างยั่งยืน โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้าร่วมด้วย ภายใต้โครงการ ITAP ตั้งแต่ต้นน้ำ คือการเพาะเลี้ยงและการปลุกต้นสักกลางน้ำ การออกแบบ และปลายน้ำ เป็นเรื่องเทคโนโลยีแปรรูป
่่จบโทมาสานต่อกิจการครอบครัว
คุณศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของอำเภอสูงเม่นอีกราย ซึ่งจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ข้อมูลว่า เป็นรุ่นที่2 ที่เข้ามา ดูแลกิจการของครอบครัวที่ทำมามากกว่า 30 ปี แล้ว เป็นโรงงานแปรรูปไม้สักและประกอบเฟอร์นิเจอร์แบบครบวงจร โดยบางส่วนชาวบ้านผลิตและทางโรงงานหาวัตถุดิบให้ โดยมีหน้าร้านของตัวเองด้วย ซึ่งการที่ สวทช มาช่วยเรื่องเครื่องจักรในการอบไม้ทำให้การผลิตไม้ประส่านเรียบขึ้น และใช้เวลาเร็วขึ้น เป็นการใช้เศษไม้อย่างคุ้มค่า เพราะสามารถนำเศษไม้เหล่านั้นมาประกอบเป็นตู้เตียงได้ จากแต่ก่อนใช้ทำฟืนอย่าเดียว
ทั้งนี้ การชื้อไม้เก่าเพื่อมาผลิตเฟอร์นิเจอร์นั้นไม่ยาก เพราะบางบ้านที่สร้างด้วยไม้สักก็ยังอยากจะรื้อปลูกใหม่โดยเน้นบ้านปูนแทน ไม้เก่าดีตรงไม่หดตัว ส่วนการชื้อไม้สักใหม่ก็ชื้อจาก อ.อ.ป
ทายาทรุ่นที่ 2 รายนี้บอกว่า มารับช่วงงานเฟอร์นิเจอร์ของครอบครัว 9 ปีมาแล้ว และมองว่าธุรกิจนี้น่าจะไปได้ดีเพราะปัจจุบันมีช่องทางขายมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านออนไลน์ อีกทั้งการชื้อหาวัตถุดิบก่ง่ายด้วย รวมถึงการมีเครือข่ายการผลิตทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ไม่ยาก สำหรับสินค้าขายดีนั้น ส่วนใหญ่เป็นเซ็ตห้องนอนที่มีหล่ายราคา ขึ้นอยู่กับขนาดผู้ประกอบการโรงแรมหรือรีสอร์ตบางรายก็ให้ไปทำแบบบิวส์อิด์อิน
"นิตยสารท่องเที่ยวที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในเมืองไทย"
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2561 อนุสาร อสท ปีท่องเที่ยววิถีไทย
"""แพร่ - น่าน ทวินครา ล้านนาตะวันออก""""
"สายน้ำยมหล่อหลอมตัวเองจากขุนเขา ลากผ่านมาถึงหมู่บ้านโบราณแถบอำเภอสูงเม่น"
ตามท่านำ้ของแต่ละหมู่บ้านไล่ไปเรื่อยจากอำเภอเมืองน่านภึงอำเภอสูงเม่น ที่เคยแน่นไปด้วยท่อนซุงไม้สักใหญ่โตชนิดที่ใครหลายคนอาจต้องตกตลึงกับอดีตป่าไม้เมืองแพร่ที่เคยอุดมสมบูรณ์
" คนรุ่นปู่รุ่นพ่อผมโตมากับการทำไม้ ไม่ทางใดก่ทางหนึ่ง" ศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์เล่าถึงบ้านหัวดง หนึ่งในหมู่บ้านช่างไม้โบราณริมสายน้ำยมแถบตำบลพระหลวง
กว่า 80 ปี ที่คนรุ่นทวด รุ่นปู่ รุ่นพ่อ ของศิรพงศ์เป็นช่างไม้ จากการเป็นส่วนเล็กๆในยุคสัมปทานตัดไม้ของชาวบ้าน พวกเขาพาทิศทางชีวิตผ่านวันคืนวันยาวนานนับหลายช่วงอายุ
"แต่ก่อนท่าน้ำเวียงทองเป็นที่ประมูลไม้จากป่า เอกชนกับรัฐบาล" ศิรพงศ์ถ่ายทอดเรื่องเล่าของปู่ย่า บอกถึงท่าน้ำที่อยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านหัวดง
เราเดินเข้าไปในโกดังของ "ศักดิ์สิทธิ์เฟอร์นิเจอร์" ชุดโต๊ะ ตู้ เก้าอี้ แหย่ง หอมกลิ่นไม้สักด้วยยังไม่เคลือบ " รุ่นปู่เขาทำกบไสไม้ ทำล้อเกวียน จนมาถึงรุ่นพ่อ รุ่นแม่ รุ่นผม งานไม้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ รวมถึงแหล่งไม้สักด้วย" เขาว่าแหล่งไม้ที่คนทำเฟอร์นิเจอร์หามาทำนั้นเต็มไปด้วยความหลากหลายมันเกิดอาชีพขึ้นทั้งคนหาไม้ คนจัดไม้ ช่างไม้ รวมไปถึงคนออกแบบ
"คนหาไม้นี่ไม่ค่อยได้เข้าโรงงานครับ ไปประมูล ไปหาตามสวนสักต่างๆ ส่วนพ่อผมเป็นคนจัดไม้" ศิรพงศ์บอกถึงอาชีพหนึ่งในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ คนจัดไม้ต้องแยก คัด จัดไม้แต่ละขนาดเข้าเครื่องย่อยไม้แยกประเภทไม้ไปสู่ชนิดงาน
เอาเข้าจริงๆ ศิรพงศ์บอกกับเราว่างานไม้เมืองแพร่มีเอกลักษณ์ มีพัฒนาการ "ช่างแพร่เน้นไม้ใหญ่ หนา ชิ้นงานบอกถึงความอุดมส์สมบูรณ์ โชว์คุณคุณภาพลายไม้สัก สุโขทัยเน้นฉลุ ส่วนพวกแกะไม้แก่งนี้ต้องเชียงใหม่" ทุกวันนี้ระหว่างงานดั้งเดิม งานประยุกต์ งานสมัยใหม่ ดูเหมือนเขาต้องเป็นคนจัดวางทิศทางให้กับโรงงานกลางหมู่บ้านโบราณอย่างละเอียด
ศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์
โรงงานศักดิ์สิทธิ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สักแพร่
"โรงงานศักดิ์สิทธิ์เฟอร์นิเจอร์ คือผู้นำทางด้านการทำไม้ " มีสินค้าให้เลือกมากว่า 1000 รายการ เป็นแหล่งรวมเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งหนึ่ง ของจังหวัดแพร่ ที่รวมความหลากหลาย มาไว้ที่โรงงานที่นี่ที่เดียวครับ
.*****แนวคิดการพัฒนาอย่ายั่งยืน******
ทุกวันนี้เรายังคงพัฒนางานอย่างไม่หยุดยั้ง แก้ปัญหาที่เจอให้มากที่สุด มีสร้างนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น ใส่ใจกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่างสามารถสร้างสรรค์ผลงานง่าย จนเกิดความชำนาน งานมีความแม่นยำมากขึ้น สามารถแข่งขันกับตลาดภายในประเทศได้