“Furniture for Elder ชนชราแชร์ เพื่อชีวิตที่ง่ายกว่าสำหรับคุณ”
วิทยาลัยชุมชนแพร่ ได้จัดการศึกษาที่เท่าเทียมและบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ไม้สัก ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ส่วนราชการและผู้ประกอบการไมสักในจังหวัดแพร่ภายใต้ยุทธศาสตร์ เฟอร์นิเจอร์ซิตี้ (Furniture City) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชุมชนและช่างฝีมือท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเก็บข้อมูลจากการนำเฟอร์นิเจอร์ให้กลุ่มเป้าหมายทดลองใช้จริง รวมไปถึงสามารถวางแผนในการผลิตสินค้า การเลือกใช้วัสดุ การกำหนดราคา นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจ สหกรณ์ ผู้ประกอบการทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับยุค ไทยแลนด์ 4.0
ภาคเหนือเป็นภาคแรกของประเทศไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ในปี 2560
วิทยาลัยชุมชนแพร่ ได้เริ่มกิจกรรมโครงการออกแบบเพื่อเฟอร์นิเจอร์ผู้สูงอายุเริ่มต้นปี
2560 ร่วมกับ สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA เชียงใหม่) , วิสาหกิจชุมชนผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง ต.ดอนมูล องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
และ ศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนางานออกแบบที่มีความพร้อมเหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนทุกช่วงวัย
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับสังคมผู้สูงอายุ “บุญ-แชร์ คอลเลคชั่น”
ได้มุ่งเน้นแก้ปัญหาในการพัฒนาพัฒนารูปแบบเฟอร์นิเจอร์ให้มีการใช้งานที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้
โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งมีปัญหาด้านการทรงตัว การลุก การเดิน
ซึ่งล้วนแต่เป็นอิริยาบถ ในชีวิตประจำวัน ภายใต้แนวคิด “Furniture for
Elder ชนชราแชร์ เพื่อชีวิตที่ง่ายกว่าสำหรับคุณ” ปัจจุบันวางจำหน่าย ณ ศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยอดขายรวม 50,000 บาท สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชนรวม
100 คน
ผลงานในครั้งนี้ได้ขยายผลจากงานวิจัยและนำยุทธศาสตร์จังหวัดแพร่ เรื่อง เมืองแห่งเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก มาเป็นโจทย์ในการทำงานร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง ต.ดอนมูล มุ่งสร้างสรรค์เป็นผลงานที่สะท้อนถึงทุนทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นโอกาสที่จะตอบรับกับตลาดผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยการเรียนรู้และทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบ และผู้มีประสบการณ์เรื่องการออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญในเทคนิคงานไม้ดั้งเดิม และการผลิตเฟอร์นิเจอร์มาตรฐานอุตสาหกรรม นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดสอบตลาด เจรจาธุรกิจ ให้ความสำคัญในการผลิต ออกแบบและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตลาด ถอดบทเรียน พัฒนาหลักสูตร จัดทำเป็นงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จังหวัดแพร่ พร้อมแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคมผู้สุงอายุ ต่อไป
คลิปเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ (ผลิตโรงโรงงานลูกหลานเมืองแพร่)
****เครดิต จาก วิทยาลัยชุมชนแพร่ ******